การจัดการสต๊อกสินค้าเองดีกว่าการใช้บริการกับคลังสินค้าจริงหรือไม่?

การจัดการการสต๊อกสินค้าทางช่องทางออนไลน์เอง ดีกว่าใช้บริการกับคลังสินค้าจริงหรือไม่?

Table of Contents

ปัญหาที่ผู้ประกอบการมักพบเจอในการขายทั้งช่องทางออนไลน์หรือออฟไลน์ คือการจัดการสต๊อกสินค้า ซึ่งหากมีการจัดการที่ดี ก็จะสามารถนำไปใช้ได้ประโยชน์ได้กับทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจที่ใช้การผลิตหรือการให้บริการวัตถุดิบ ไปจนถึงการผลิตสินค้าสำเร็จรูปและธุรกิจบริการ ดังนั้นการทำสต๊อกสินค้าจึงครอบคลุมทั้งหมดในทุกแง่มุมของธุรกิจ เพราะการจัดการสต๊อกเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งการสั่งซื้อ การจัดเก็บ การติดตาม และการควบคุม 

ดังนั้นทางเว็บไซต์จึงได้มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการสต๊อกสินค้าเอาไว้ให้กับทุกท่านได้เข้ามาศึกษาหาข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการธุรกิจที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การสต๊อกสินค้า คืออะไร

การสต๊อกสินค้า คืออะไร

การทํา stock สินค้าจะเป็นกระบวนการจัดการสินค้าที่ทางธุรกิจจะต้องมีการวางแผน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกี่ยวกับการนำสินค้ามาจัดเก็บ จัดระเบียบ และติดตามสินค้าอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญก็ยังมีความเกี่ยวข้องกับการบันทึกและการเปลี่ยนแปลงสินค้าในคลังในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย เพราะจะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถเก็บสินค้าในปริมาณที่เหมาะสมในสต๊อกกับความต้องการของลูกค้า และตรวจสอบได้

ทำไมต้องสต๊อกสินค้า สำคัญยังไง

แน่นอนว่าสินค้าที่อยู่ในคลังถือเป็นทรัพย์สินหลักที่แสดงถึงต้นทุน ดังนั้นการจัดการสต๊อกที่มีประสิทธิภาพก็จะช่วยทำให้ธุรกิจของทุกท่านสามารถจัดการเงินทุนได้ดีที่สุด การจัดการสต๊อกสินค้าที่มีประสิทธิภาพต้องเริ่มต้นจากการเข้าใจรายละเอียดของสต๊อกในประเภทต่างๆ ก่อน และที่สำคัญคือต้องทราบถึงความต้องการใช้ของสต๊อกนั้นๆ ด้วย เพื่อช่วยให้การรักษาสต๊อกอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงช่วยสร้างสมดุลระหว่างความต้องการสินค้ากับการบริหารต้นทุนได้

สต๊อกสินค้าด้วยตัวเอง ดียังไง

การจัดการสต๊อกสินค้าแบบง่ายๆ ด้วยตัวเองจะมีผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมของการทำธุรกิจ เพราะการสต๊อกสินค้าเป็นการจัดสินค้าในการจัดเก็บสินค้าที่มีวัตถุประสงค์หลัก สำหรับจัดเก็บสินค้าภายในคลังสินค้าให้เป็นระบบและมีความปลอดภัยที่สุด เพื่อให้ส่งสินค้าทันกับความต้องการของลูกค้า และนอกจากนี้การสต๊อกสินค้าก็ยังมีประโยชน์อีกมากมาย โดยประโยชน์ของการสต๊อกสินค้ามีดังต่อไปนี้

1. ช่วยวางแผนการทำงานได้สะดวกขึ้น

การจัดการสต๊อกสินค้าที่ดี ช่วยให้ผู้ประกอบการเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยลดเวลาในการหยิบสินค้า การบรรจุ และการสเบิกจ่ายสินค้า ทำให้สามารถจัดการสินค้าได้ถูกต้องและรวดเร็ว

2. ช่วยลดต้นทุนในธุรกิจ

การทําสต๊อกสินค้าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมสต๊อกและติดตามสินค้า ทำให้ทราบถึงจำนวนสินค้าที่ยังค้างหรือขายไม่ออก สินค้าตกเทรนด์ และสินค้าที่ใกล้หมดอายุได้ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการจัดการสินค้า วางแผนกลยุทธ์การขายแบบลดราคา หรือสร้างโปรโมชันต่างๆ เพื่อเร่งระบายสต๊อกสินค้าไม่ให้ติดค้างในคลังสินค้า ซึ่งการจัดการรูปแบบนี้ทำให้สามารถช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกิจ รวมถึงสินค้ายังได้รับการจัดการที่เหมาะสม

3. ช่วยเพิ่มความประทับใจให้ลูกค้า

การทำสต๊อกสินค้า สามารถช่วยยกระดับความประทับใจในการบริการและตอบสนองความต้องการของลูกค้าเพื่อให้ซื้อสินค้าได้เป็นอย่างดี เพราะผู้ประกอบการสามารถจัดการสินค้าได้อย่างรวดเร็ว สามารถเช็กและตรวจสอบสินค้าก่อนส่ง เลือกสินค้าที่หยิบใส่ได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว

ทำให้ลูกค้าได้รับสินค้าตรงตามออเดอร์ที่สั่งไว้ และได้รับการบริการที่เกินความคาดหมาย ลูกค้าเกิดความพึงพอใจจึงกลับมาซื้อสินค้าและบริการที่ร้านของเราอีกครั้ง และได้รับการรีวิวที่ดีจากลูกค้าอีกด้วย

4. ช่วยให้ทำงานสะดวกและมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาหากมีการส่งคืนสินค้า

การทำสต๊อกสินค้า ช่วยป้องกันไม่ให้สินค้าเสียหายหรือสินค้าสูญหายได้ สามารถทำให้รู้ถึงปัญหาพื้นฐานในการจัดการสต๊อกสินค้าเองได้เป็นอย่างดี หากมีการวางแผนในการทำงานอย่างเป็นระบบและสร้างความปลอดภัยในทุกด้าน จะยิ่งทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น แม้จะมีการส่งคืนสินค้ากลับจากลูกค้า เจ้าของธุรกิจก็สามารถเช็กสถานะและตรวจสอบข้อมูลได้

5. ช่วยวางแผนการจัดซื้อ

การทําสต๊อกสินค้า ช่วยให้สามารถวางแผนการจัดซื้อได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง ทำให้รู้ว่าสิ่งใดในคลังสินค้าที่ควรซื้อเยอะและสิ่งใดควรซื้อน้อย ดังนั้นเมื่อมีการวางแผนได้อย่างเหมาะสม ต้นทุนในการซื้อก็จะลดลง มื่อต้นทุนลดลงธุรกิจก็จะได้รับกำไรจากการขายสินค้ามากขึ้นอีกด้วย

7 หลักการพื้นฐานการจัดการสต๊อกสินค้า ที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ

7 หลักการพื้นฐานการจัดการสต๊อกสินค้า ที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ

การทำให้กำไรเพิ่มขึ้น นอกจากการขายสินค้าให้ได้จำนวนมากแล้ว การลดต้นทุนการจัดเก็บให้ได้มากที่สุดยังเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้ได้กำไรเป็นจำนวนมากเช่นกัน ซึ่งผู้ประกอบการต้องมั่นใจได้ว่าการจัดเก็บนี้จะไม่กระทบกับสินค้าที่มีความต้องการขาย โดยหลักการพื้นฐานที่จะช่วยให้การจัดการสต๊อกมีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้นสามารถทำได้ดังนี้

1. จัดสต๊อกสินค้าอย่างมีระบบ และเป็นระเบียบ

การทําสต๊อกสินค้านั้นต้องมีการจัดบริเวณหรือชั้นวางสินค้าภายในคลังอย่างมีระบบ เพื่อช่วยให้สามารถทำงานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วขึ้น เพราะจะช่วยส่งเสริมให้ขั้นตอนในการทำงานเป็นไปตามระบบที่วางเอาไว้ได้ รวมถึงช่วยลดความผิดพลาดได้

2. จัดระบบคลังสินค้าให้ดี

การทําสต๊อกสินค้าควรการทําสต๊อกสินค้าควรมีการจัดระบบคลังตั้งแต่ต้นก่อนที่ธุรกิจจะเติบโตจนยากที่จะจัดระบบใหม่ได้ ดังนั้นจึงควรเข้าถึงการจัดการสินค้าในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การรับออเดอร์เข้ามาจากลูกค้าไปจนถึงการส่งสินค้าให้กับลูกค้า เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ทางเจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องทำเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและดูแล

3. แบ่งหมวดหมู่สต๊อกสินค้า

การทําสต๊อกสินค้าก็สามารถจัดแบ่งสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ที่มีความแตกต่างออกไปได้ ตามประเภทของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ขายง่าย มาไวไปไว สินค้าที่ทำกำไรได้เป็นจำนวนมาก สินค้าที่ขายดีที่สุด เป็นต้น ดังนั้นหลังจากที่มีการจัดแบ่งและเก็บข้อมูลได้สักระยะแล้วก็จะมีฐานข้อมูลเพียงพอที่สามารถนำมาใช้ในการวางแผนธุรกิจต่อไปได้

4. อัปเดตสต๊อกสินค้าเป็นประจำ

4. อัปเดตสต๊อกสินค้าเป็นประจำ

การจัดการสต๊อกสินค้าโดยการอัปเดตจำนวนสต๊อกทันทีที่มีสินค้าเข้าและออก จะทำให้สินค้าของจริงตรงกับที่มีการบันทึกบนระบบเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้ามีความเพียงพอที่จะขาย ทำให้ป้องกันความผิดพลาดได้ นอกจากนี้ก็ควรมีการนับสต๊อกอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพราะจะช่วยให้สามารถเห็นถึงความเคลื่อนไหวของสินค้า

5. อย่าปล่อยให้สินค้าขาดสต๊อก

การรวบรวมข้อมูลไปจนถึงสถิติการขายที่ผ่านมา รวมทั้งข้อมูลและสถิติที่มีความเกี่ยวข้องจากแหล่งอื่น จะช่วยเพิ่มการประมาณสินค้าขั้นต่ำที่ควรมีไว้ในการจัดการสต๊อกสินค้าคงเหลือและเก็บไว้ในคลังได้เสมอ เพื่อไม่ให้มีน้อยกว่าความต้องการหรือค้างสต๊อกมากเกินไป เพราะในการจัดสต๊อกจะต้องมีการจัดเก็บและตรวจสินค้า เพื่อให้สินค้ามีความเพียงพอต่อการจัดส่งและมีสำรองไว้เมื่อลูกค้าต้องการเสมอ

6. วางแผนการซื้อสินค้าเติมสต๊อกให้รัดกุม

การทําสต๊อกสินค้าแบบง่ายๆ จะต้องมีการวางแผนการจัดซื้อให้มีความสอดคล้องกับข้อมูลและสถิติการขายที่ผ่านมา เพื่อเป็นการกำหนดจำนวนของสินค้าได้อย่างเพียงพอและเหมาะสมตามความต้องการ

7. เตรียมรับมือกับปัญหา

สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการทําสต๊อกสินค้าแบบ คือการวางแผนในการรับมือเมื่อเกิดปัญหา ต้องรู้ว่าควรทำอย่างไรบ้างเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น และปัญหาที่เกิดจากคลังสินค้าจะส่งผลกระทบกับธุรกิจในส่วนใดบ้าง ดังนั้นควรมีการวางแผนเพื่อรอรับมือก่อนปัญหาจะเกิด

การจัดการสต๊อกสินค้าด้วยตัวเอง ต่างจากใช้บริการคลังสินค้าผ่านผู้ให้บริการที่มีมาตรฐานอย่างไร

การจัดการสต๊อกสินค้าด้วยตัวเอง ต่างจากใช้บริการคลังสินค้าผ่านผู้ให้บริการที่มีมาตรฐานอย่างไร

การจัดการสต๊อกสินค้าด้วยตนเอง อาจทำให้ดำเนินการสะดวกและรวดเร็ว แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ ซึ่งมีข้อแตกต่างจากการใช้บริการคลังสินค้าผ่านผู้ให้บริการที่มีมาตรฐานซึ่งสามารถช่วยลดข้อเสียและข้อจำกัดของธุรกิจได้ดังนี้

  • หากต้องการสต๊อกสินค้าในจำนวนที่มากขึ้น ความต้องการในพื้นที่สำหรับจัดเก็บจึงสูงขึ้นตาม ดังนั้นการจัดการสต๊อกสินค้าด้วยตนเอง ผู้ประกอบการก็ต้องมีการลงทุนในการจัดหาพื้นที่จัดเก็บที่มีราคาค่อนข้างสูง และอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาพื้นที่ใหม่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
  • หากมีการสต๊อกสินค้าที่ควรได้รับการป้องกันความเสียหาย รวมถึงประกันความเสี่ยงสำหรับการสูญหายหรือถูกขโมย ผู้ประกอบการที่จัดการสต๊อกสินค้าด้วยตัวเองก็จะต้องจ่ายเบี้ยประกันที่สูงขึ้นตามไปด้วย จึงมีระบบการสต๊อกสินค้าด้วยตนเองที่ทุกท่านสามารถมาใช้บริการแบบ Fulfillment ได้

บริการคลังสินค้าที่ YAS ดีกว่าที่อื่นยังไง?

เมื่อพูดถึงระบบการให้บริการคลังสินค้าที่ YAS แน่นอนว่าเจ้าของธุรกิจก็จะต้องตัดสินใจที่จะทำการจัดเก็บสินค้าคงคลังไว้ที่ที่มีความน่าเชื่อถือและสามารถดูแลการทําสต๊อกสินค้าแบบง่ายๆ ได้เป็นอย่างดี แน่นอนว่าการให้บริการคลังสินค้าที่ YAS มีจุดเด่นมากมายที่พร้อมให้บริการดังต่อไปนี้

  • มีคลังสินค้าที่มีมาตรฐานสูง เจ้าของธุรกิจสามารถหมดกังวลในเรื่องของพื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอ เพราะที่คลังสินค้า YAS มีการรองรับสินค้าได้อย่างหลากหลายและมาพร้อมด้วยระบบความปลอดภัย ระบบการจัดเก็บและการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ
  • การใช้บริการคลังสินค้าที่มีมาตรฐาน ส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับการให้บริการ fullfilment ที่มาพร้อมกับโซลูชันต่างๆ ที่สามารถออกแบบให้เหมาะสมกับสินค้าและความต้องการตามที่ลูกค้าต้องการได้
  • มีความพร้อมสำหรับการรองรับปริมาณคำสั่งซื้อจำนวนมากของลูกค้า และสามารถผันผวนตามกิจกรรมการตลาดของลูกค้าได้
  • มีระบบการเชื่อมต่อที่พร้อมดูแลทั้งเรื่องหน้าบ้านและหลังบ้าน มีการเช็กสต๊อกสินค้า สามารถตรวจสอบการสั่งซื้อ และมีการติดตามในทุกกิจกรรม ซึ่งสามารถทำได้ง่ายและแม่นยำ
  • มีบริการขนส่งที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าออนไลน์ รวมทั้งเชื่อมต่อระบบกับผู้ให้บริการขนส่งหลักต่างๆ ของแต่ละ platform

แน่นอนว่าเจ้าของธุรกิจต้องพิจารณาก่อนว่าจะยังจัดสต๊อกสินค้าด้วยตัวเองหรือเลือกใช้บริการการจัดสินค้าด้วยคลังสินค้าที่มีมาตรฐาน โดยควรเลือกดูตามความเหมาะสมของเงื่อนไขต่างๆ ทางธุรกิจ รวมไปถึงความคุ้มค่าและนโยบายของแต่ละเจ้าของธุรกิจด้วย

หากท่านมีแนวคิดหรือมีความประสงค์ใช้บริการคลังสินค้าและบริการ fulfillment กับ YAS ซึ่งเป็นผู้ให้บริการคลังสินค้าและ fulfillment ที่มีมาตราฐาน ที่เป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง ท่านสามารถดูข้อมูลที่ https://www.yasservices.co.th/ หรือติดต่อเพื่อปรึกษาหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมจากเราได้ตลอดเวลาได้ที่ Line Official Account: @yasonline

สรุป

การทําสต๊อกสินค้าแบบง่ายๆ หากมีการจัดการที่ดีก็จะจะช่วยให้สามารถจัดระเบียบสินค้าในคลังได้ดีขึ้น ช่วยให้สามารถกำกับดูแลได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยประหยัดเวลา ลดต้นทุนได้ดีที่สุด และสิ่งที่สำคัญและชัดเจนอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการ คือการจัดการสินค้าที่มีการคาดการณ์อย่างเหมาะสม และขายสินค้าได้เป็นจำนวนมาก หากเราสามารถดำเนินการจัดการสต๊อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ควบคุม จัดการ และมีระบบการให้บริการลูกค้าอย่างที่ดีที่สุด ทำให้เห็นถึงยอดขายที่ดี ที่มาพร้อมกับรายได้จำนวนมาก ช่วยลดและควบคุมต้นทุนในการดำเนินการ ลดต้นทุนพนักงาน ซึ่งก็จะสามารถทำกำไรให้เจ้าของธุรกิจได้มากยิ่งขึ้นด้วย