5 กลยุทธ์ ในการบริหารจัดการคลังสินค้าให้ตรงเวลาและมีประสิทธิภาพ

5 กลยุทธ์ ในการบริหารจัดการคลังสินค้าให้ตรงเวลาและมีประสิทธิภาพ

Table of Contents

Key Takeaway

  • การจัดการคลังสินค้า คือการควบคุมและการบริหารคลังสินค้าให้เป็นระบบ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจได้
  • 5 กลยุทธ์ช่วยในการจัดการคลังสินค้าให้ส่งสินค้าตรงเวลา ได้แก่ การวางแผนล่วงหน้า การใช้ระบบ WMS และ TMS การเลือกผู้ให้บริการขนส่งที่เชื่อถือได้ การใช้ระบบติดตามการขนส่ง และการปรับปรุงกระบวนการอยู่เสมอ
  • การจัดการคลังสินค้าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และปรับปรุงการควบคุมสินค้าคงคลัง เช่น การใช้ระบบการจัดการคลังสินค้า (WMS) และเทคโนโลยีบาร์โค้ดหรือ RFID เพื่อความแม่นยำในการติดตามสินค้า ส่งผลให้ลูกค้าพึงพอใจและธุรกิจประสบความสำเร็จ
  • ระบบ WMS ของ YAS นั้น เป็นระบบที่มีการเชื่อมต่อกับระบบของลูกค้า และอยู่ภายใต้การรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง YAS มีกล้องวงจรปิดที่ทันสมัย อีกทั้งยังรับประกันกรณีสินค้าสูญหายอีกด้วย

ในโลกของธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง การจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้บริษัทสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว การบริหารคลังสินค้าอย่างเป็นระบบไม่เพียงช่วยให้การจัดส่งสินค้าเป็นไปตามกำหนดเวลา แต่ยังช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

ระบบการจัดการคลังสินค้าที่ดีสามารถติดตามสินค้าได้แบบเรียลไทม์ คาดการณ์ความต้องการ และปรับกระบวนการจัดการคลังสินค้าให้คล่องตัวขึ้น ปัจจุบันหลายองค์กรหันมาใช้ระบบคลังสินค้าออนไลน์เพื่อเพิ่มความแม่นยำ ลดข้อผิดพลาด และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าให้สามารถรองรับการเติบโตของธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น

การจัดการคลังสินค้าคืออะไร

การจัดการคลังสินค้าคืออะไร

การจัดการคลังสินค้า หรือ Warehouse Management เป็นกระบวนการควบคุมและบริหารสินค้าที่อยู่ในคลัง ที่จะเริ่มต้นตั้งแต่การรับสินค้า การจัดเก็บ การเบิกจ่าย และการจัดส่งให้ลูกค้า ให้มีความรวดเร็ว และประหยัดเวลา นอกจากนี้ยังเป็นการบริหารคลังสินค้าให้เกิดข้อผิดพลาด หรือความเสียหายน้อยที่สุด ระบบการจัดการคลังสินค้าที่ดีจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า ซึ่งจะเป็นผลดีกับธุรกิจโดยรวมของคุณได้อีกด้วย

ความต่างระหว่างการจัดการคลังสินค้า vs การจัดการสินค้าคงคลัง

ความต่างระหว่างการจัดการคลังสินค้า vs การจัดการสินค้าคงคลัง

การจัดการคลังสินค้าเป็นกระบวนการควบคุมการรับเข้า จัดเก็บ เคลื่อนย้าย และจัดส่งสินค้าให้มีความเป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพ ระบบการจัดการคลังสินค้าช่วยลดข้อผิดพลาดในการดำเนินงาน ทำให้กระบวนการจัดการคลังสินค้ารวดเร็วขึ้นและสามารถบริหารพื้นที่เก็บสินค้าได้อย่างเหมาะสม

มุ่งเน้นการจัดการสินค้าไปที่การควบคุมปริมาณสินค้าในสต็อกให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด ช่วยลดปัญหาสินค้าขาดแคลนหรือล้นสต็อก แม้ว่าทั้งสองแนวคิดจะเกี่ยวข้องกันแต่การจัดการคลังสินค้าจะเน้นที่กระบวนการทางกายภาพของสินค้า ขณะที่การจัดการสินค้าคงคลังจะเน้นที่ปริมาณและความเหมาะสมของสินค้าในระบบ การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าทั้งสองส่วนนี้จะช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

วัตถุประสงค์ของการจัดการคลังสินค้า

วัตถุประสงค์ของการจัดการคลังสินค้า

คลังสินค้าถือเป็นหลังบ้านที่มีความสำคัญต่อธุรกิจ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการคลังสินค้าอย่างเหมาะสม หากมีระบบการจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพก็จะช่วยให้คุณบรรลุวัตถุประสงค์สำคัญในการบริหารคลังสินค้า ดังนี้

  • ใช้พื้นที่ภายในคลังสินค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจที่มีต้นทุนในการใช้คลังเก็บสินค้า ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของค่าเช่า หรือการลงทุนสร้างคลังสินค้าขึ้นมาเองก็ตาม 
  • ลดระยะทางที่จะต้องใช้เพื่อเคลื่อนย้าย เนื่องจากระยะทางที่มากขึ้นเพื่อเคลื่อนย้ายสินค้า มักจะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามไปด้วยจากค่าขนส่งนั่นเอง
  • ทำให้ทรัพยากรต่างๆ ภายในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือ แรงงานคน รวมไปถึงสาธารณูปโภคภายในนั้นมีเพียงพอต่อความต้องการของธุรกิจ และสามารถส่งเสริมการแข่งขันได้
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้า ได้อย่างรวดเร็ว และมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ผ่านการวางแผนที่ประเมินจากความต้องการของลูกค้า ทำให้ผู้ที่ทำงานภายในระบบการจัดการคลังสินค้าสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น
  • บริหารคลังสินค้าให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด ช่วยควบคุมต้นทุนของธุรกิจให้อยู่ในระดับที่ต้องการ ทำให้ธุรกิจนั้นสามารถเกิดกำไร
กระบวนการในการจัดการคลังสินค้า

กระบวนการในการจัดการคลังสินค้า

กระบวนการหลักๆ ที่จะใช้ในการจัดการคลังสินค้าประกอบไปด้วยหลายขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถควบคุมและติดตามสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

  • งานรับสินค้า (Goods Receive) คือกระบวนการแรกของระบบการจัดการคลังสินค้า โดยเป็นการรับสินค้าเข้ามาภายในคลังสินค้า ทั้งจากแหล่งผลิตภายในหรือการซื้อมาจากภายนอก
  • การตรวจพิสูจน์ (Identify goods) คือขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าที่จะรับเข้ามา ทั้งในส่วนของชื่อ หมายเลขสินค้า รวมถึงข้อมูลจำเพาะอื่น ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าที่รับเข้ามานั้นถูกต้องและครบถ้วน
  • การตรวจแยกประเภท (Sorting goods) ทำให้ง่ายต่อการเก็บรักษา การตรวจแยกประเภทที่ดียังจะช่วยให้สามารถหยิบย้ายสินค้าได้ง่าย ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าได้อีกทาง 
  • งานจัดเก็บสินค้า (Put away) ถือเป็นกระบวนการที่มีการขนย้ายสินค้าไปสู่จุดต่าง ๆ ภายในคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นชั้นวางสินค้าหรือแถวจัดวางสินค้า 
  • งานดูแลรักษาสินค้า (Holding goods) คือการดูแลรักษาสภาพสินค้าไม่ให้เกิดความเสียหายหรือมีการเสื่อมสภาพ
  • การนับสต็อก (Inventory Count) เป็นกระบวนการตรวจนับจำนวนสินค้าที่มีอยู่จริงเพื่อเปรียบเทียบกับจำนวนสินค้าที่บันทึกอยู่ในระบบคลังสินค้าว่าตรงกันหรือไม่ 
  • งานจัดส่งสินค้า (Dispatch goods) เป็นการนำสินค้าออกจากคลังเพื่อไปส่งให้กับผู้รับหรือคืนสินค้าให้กับผู้ฝาก 
  • การหยิบเลือกสินค้า (Picking) คือขั้นตอนการหยิบจับสินค้าจากตำแหน่งต่างๆภายในคลังสินค้าเพื่อรวบรวมเอาไว้สำหรับการจัดส่งไปยังพื้นที่ถัดไป 
  • การจัดส่ง (Shipping) ในการส่งสินค้าไม่ใช่แค่การส่งของเพียงอย่างเดียวแต่ยังรวมไปถึงขั้นตอนในการบรรจุสินค้า ชั่ง น้ำหนัก และนับจำนวน เพื่อให้สามารถจัดส่งสินค้าสินค้าสู่ผู้รับได้อย่างถูกต้อง 
  • การจัดทำรายงาน (Report) เป็นการนำข้อมูลต่างๆ มาประมวลผลเพื่อสรุปข้อมูล ออกมาในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารคลังสินค้าได้อย่างดียิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการจัดการคลังสินค้าได้ 
5 กลยุทธ์หลักในการจัดการคลังสินค้า ช่วยให้ส่งสินค้าตรงเวลา

5 กลยุทธ์หลักในการจัดการคลังสินค้า ช่วยให้ส่งสินค้าตรงเวลา

กระบวนการจัดการคลังสินค้าที่ดีต้องอาศัยการวางแผนที่เป็นระบบ การเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าไม่เพียงช่วยลดต้นทุนแต่ยังช่วยเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าอีกด้วย 

โดย 5 กลยุทธ์สำคัญในการแก้ปัญหาคลังสินค้า และช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีดังนี้

1. มีการวางแผนล่วงหน้า

การวางแผนล่วงหน้าช่วยให้สามารถเตรียมสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการ ลดปัญหาสินค้าคงคลังส่วนเกินและของเสีย โดยใช้ข้อมูลยอดขายและออเดอร์ในอดีตผ่านระบบการจัดการคลังสินค้า เพื่อคาดการณ์แนวโน้มความต้องการในอนาคต ทำให้การบริหารคลังสินค้าสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อกระบวนการผลิตได้ดีขึ้น

นอกจากนี้การวางแผนล่วงหน้ายังช่วยให้สามารถเลือกใช้ระบบขนส่งที่เหมาะสม ลดความล่าช้าในการจัดส่ง และเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ปัญหาคลังสินค้า การดำเนินกลยุทธ์นี้ร่วมกับการใช้ ระบบการจัดการคลังสินค้า ที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า ได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน 

2. ควรจัดการคลังสินค้าและการจัดส่งให้มีประสิทธิภาพ

ระบบการจัดการคลังสินค้า (WMS) ช่วยติดตามสินค้าคงคลังอย่างแม่นยำ ลดข้อผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการจัดการคลังสินค้า ขณะที่ระบบบริหารการจัดส่ง (TMS) ช่วยวางแผนเส้นทางที่ดีที่สุดและลดเวลาขนส่ง การใช้ระบบคลังสินค้าออนไลน์แบบ real-time ช่วยติดตามสินค้าได้ทันที

ที่สำคัญการจัดวางสินค้าตามประเภท ขนาด และความถี่ในการหยิบช่วยลดเวลาในการค้นหาและหยิบสินค้า การตรวจสอบสินค้าคงคลังเป็นประจำช่วยป้องกันปัญหาสินค้าหมดสต็อกและลดของเสีย การใช้เทคโนโลยีในการจัดการคลังสินค้าช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความพึงพอใจให้ลูกค้า

3. ผู้ให้บริการขนส่งต้องเชื่อถือได้

การเลือกผู้ให้บริการขนส่งที่เชื่อถือได้เป็นสิ่งสำคัญในการบริหารคลังสินค้า เพราะช่วยให้สินค้าถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยและตรงเวลา นอกจากนี้ยังควรมีการเปรียบเทียบราคา บริการ และระยะเวลาการจัดส่งของแต่ละผู้ให้บริการเพื่อให้ธุรกิจสามารถพิจารณาเลือกตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด 

การทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจช่วยให้การขนส่งราบรื่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ให้บริการช่วยเจรจาต่อรองและได้รับบริการที่ดียิ่งขึ้น การติดตามสถานะการจัดส่งและมีตัวเลือกสำรองช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า

4. ใช้ระบบติดตามสถานะการขนส่ง

การจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพยังสามารถอาศัยระบบคลังสินค้าออนไลน์ที่มีการติดตามสถานะการขนส่งแบบ real-time เพราะจะช่วยให้คุณสามารถแจ้งลูกค้าเกี่ยวกับสถานะการจัดส่งได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังทำให้จัดการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ลดอุปสรรคต่างๆ ที่อาจทำให้มีการจัดส่งสินค้าได้ล่าช้า 

ทั้งนี้ระบบการติดตามสถานะการขนส่งดังกล่าวก็ควรจะมีความแม่นยำและรวดเร็ว เพื่อช่วยให้คุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งสินค้า ส่งผลให้ลูกค้ามีความพึงพอใจมากขึ้นด้วย

5. ปรับปรุงกระบวนการในการจัดส่งอยู่เสมอ

การวิเคราะห์ข้อมูลการจัดส่ง และระบุจุดอ่อนในกระบวนการการขนส่งจะช่วยให้สามารถปรับปรุงกระบวนการจัดส่งให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ที่สำคัญการติดตามและวิเคราะห์ผลการขนส่งที่ผ่านมาในอดีตก็จะช่วยให้ระบุปัญหาและข้อบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้น เข้าใจสาเหตุและนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการการขนส่งให้เหมาะสม ขจัดปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคในการจัดส่งให้หมดไป 

นอกจากนี้ยังควรมีการลงทุนในเทคโนโลยีและฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงานเดียวกัน เพื่อช่วยให้กระบวนการจัดส่งนั้นมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนซึ่งจะส่งผลดีไปถึงระบบการจัดการคลังสินค้าได้ด้วยเช่นกัน 

ประโยชน์ของการจัดการคลังสินค้า

ประโยชน์ของการจัดการคลังสินค้า

การจัดการคลังสินค้าให้เป็นระบบนั้นมีประโยชน์อย่างมากต่อธุรกิจในด้านต่างๆ  ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจนั้นสามารถเติบโตและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ดังนี้

  • ลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า โดยช่วยประหยัดค่าขนส่งสินค้าทั้งขาเข้ามาในคลังสินค้า และขาออกจากคลังสินค้าไปยังลูกค้า
  • ระบบจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพช่วยลดต้นทุนแปรผันและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการดำเนินการจัดการคลังสินค้า 
  • ช่วยคาดการณ์และเตรียมสินค้าสำรองล่วงหน้า เพื่อป้องกันปัญหาสินค้าขาดสต็อกและสูญเสียโอกาสในการขาย
  • เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า การจัดการคลังสินค้าที่ดีก็ยังจะช่วยลดปัญหา กำจัดอุปสรรคต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการลูกค้า 
  • เพิ่มความยืดหยุ่นให้ธุรกิจสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ดี ธุรกิจที่มีการบริหารคลังสินค้า หรือมีการจัดการคลังสินค้าอย่างเป็นระเบียบจะทำให้มีความยืดหยุ่น สามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ง่าย 

ลดการทำโปรโมชั่นสินค้า เมื่อมีการบริหารคลังสินค้าที่เหมาะสมก็จะทำให้มีสินค้าเกินสต็อกน้อยลง ส่งผลให้ไม่ต้องมีการใช้โปรโมชั่นลดราคาเพื่อระบายสินค้าส่วนเกินออกจากคลังได้อีกด้วย

สรุป

การจัดการคลังสินค้ามีความสำคัญอย่างมากในธุรกิจปัจจุบัน การใช้ระบบคลังสินค้าออนไลน์ เช่น WMS การสแกนบาร์โค้ด และ RFID ช่วยการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า ลดค่าใช้จ่าย และเร่งความรวดเร็วในการดำเนินงาน การใช้หุ่นยนต์ในการขนย้ายสินค้าช่วยลดแรงงานและเพิ่มความปลอดภัย โดยเทคโนโลยีต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของคลังสินค้าและสินค้าต่างๆ

หากธุรกิจไหนที่กำลังวางแผนการจัดการคลังสินค้าด้วยการใช้ระบบคลังสินค้าออนไลน์ สามารถเลือกใช้บริการระบบการจัดการคลังสินค้าแบบ WMS จากทาง YAS ซึ่งเราเป็นผู้ให้บริการระบบการจัดการคลังสินค้ามายาวนาน โดยระบบของเรามีความทันสมัย สามารถเชื่อมต่อกับระบบของลูกค้าได้อย่างเรียลไทม์ อีกทั้งยังให้บริการครบวงจรทั้งระบบคลังสินค้าออนไลน์ ไปจนถึงด้าน Logistic ซึ่งทาง YAS เองก็มีประสบการณ์จากการเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับธุรกิจหลากหลายประเภททั้ง B2B, B2B2C และ B2C 

WAREHOUSE MANAGEMENT (3PL)

YAS (YA Sales & Services Co.,Ltd.)

เรา คือ ผู้ให้บริการคลังสินค้าแบบครบวงจร บริหารจัดการคลังสินค้าด้วยระบบ WMS ที่ทันสมัย พร้อมรองรับการเชื่อมต่อกับระบบของลูกค้า สินค้าของลูกค้าจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง ระบบกล้องวงจรปิดที่ทันสมัย พร้อมรับประกันกรณีสินค้าสูญหาย

  • คลังสินค้ามีพื้นที่กว่า 15,000 ตารางเมตร
  • คลังสินค้าอยู่ใกล้ใจกลางกรุงเทพ และมีคลังสินค้าย่อย 16 จังหวัด อยู่หัวเมืองทั่วประเทศ
  • คลังสินค้ารองรับการจัดเก็บสินค้าหลายรูปแบบ Selective rack, Micro rack, Pickface และ Onfloor
  • พร้อมบุคลากรที่มีประสบการ์ณสูง ได้รับการอบรมอย่างสม่ำเสมอ
  • สามารถ Control สต็อกสินค้า FIFO FEFO LILO รวมทั้ง Control serial และมีประสบการ์ณดูแลสินค้า High value
  • Control serial High Value
  • มี Dashboard รายงาน Inventory สินค้า